พวงหรีดอีกหนึ่งวัฒนธรรมสำคัญในการใช้ดอกไม้เพื่อเป็นตัวแทนในการแสดงความรู้สึก รูปแบบการทำพวงหรีดเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย แต่เดิมมักทำหรีดในลักษณะของพวงหรีดวงกลมหรือ
พวงหรีดวงรี จนถึงปัจจุบันมีการจัดทำพวงหรีดในรูปแบบใหม่ๆ เช่น พวงหรีดไทยร่วมสมัย หรือจะเป็นพวงหรีดดีไซน์ในแนวทันสมัยที่ผสมความสมัยใหม่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมได้อย่างลงตัว Summer Flower มาชวนคุณติดตามเรื่องราวการเดินทางของพวงหรีดจากวัฒนธรรมตะวันตกสู่วัฒนธรรมไทยให้เราได้เข้าใจวัฒนธรรมพวงหรีดดียิ่งขึ้นนะคะ
การใช้พวงหรีดไม่ใช่วัฒนธรรมของไทยดั้งเดิม การใช้พวงหรีดเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยเปิดความสัมพันธ์กับซีกโลกตะวันตก ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการรับเอาวัฒนธรรมการใช้พวงหรีดเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีการพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมวงศ์ หรือพระศพเจ้านาย เริ่มมีการประดับพวงหรีด
ในธรรมเนียมตะวันตก มีทั้งการใช้พวงหรีดสำหรับงานศพ และการใช้พวงหรีดในโอกาสเฉลิมฉลองต่างๆ ด้วย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน สามารถแบ่งลักษณะการใช้พวงหรีดออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ
พวงหรีดกับสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ
การใช้พวงหรีดเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะมีขึ้นตั้งแต่ในสมัยโรมัน และในปัจจุบันยังมีการใช้พวงหรีดในความหมายนี้อยู่ เห็นได้จากงานแห่งขันกีฬาต่างๆยังคงมีวัฒนธรรมมอบพวงหรีดให้แก่ผู้ที่่ชนะในการแข่งขันกีฬาต่างๆ สำหรับพวงหรีดแห่งชัยชนะนิยมใช้ใบไม้ เช่นใบมะกอก (Bay Leaf) หรือ ใบกระวาน มาร้อยเป็นพวงแล้วก็สวมศีรษะผู้ชนะ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ
พวงหรีดดอกไม้สำหรับตกแต่ง
ในวัฒนธรรมตะวันตกนิยมใช้ดอกไม้แห้งที่มีกลิ่นหอม หรือใบไม้สมุนไพรกันแมลงกันต่างๆ หรือลูกสนแห้งมาทำเป็นพวงหรีดมาแขวนที่บานประตูเพื่อความสวยงาม นิยมใช้ในงานเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น ช่วงเทศกาลคริสต์มาส
พวงหรีดสำหรับแสดงความอาลัย
การมอลพวงหรีดเป็นการแสดงความอาลัยแก่
ผู้ตาย ทั้งยังถือเป็นการให้กำลังใจและแสดงความเสียใจต่อญาติผู้ตายอีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียมีการคัดสรรดอกไม้ประเภทต่างๆ ที่จะใช้ทำพวงหรีดสำหรับพิธีศพอย่างพิถีพิถัน ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมการใช้หรีดในส่วนนี้เข้ามาและเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน
Comments